การกำกับดูแลกิจการที่ดี
รายงานการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
คณะกรรมการบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลกิจการ และเข้าใจถึงบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการที่มีต่อบริษัท ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
โดยบริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียนที่เป็นไปตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) โดยบริษัทฯ ได้รับการประเมินการกำกับดูแลกิจการประจำปี 2566 ด้วยคะแนนเฉลี่ย 96% จัดอยู่ในระดับ 5 ดาว จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
Global Code of Conduct
“คู่มือจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ” ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อวางมาตรฐานด้านจริยธรรมในการดำเนินกิจการของบริษัทฯ และส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยกำหนดความคาดหวังที่มีพนักงานทุกคน และมุ่งหวังการเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
HaadThip Gender-Equality Index
HaadThip Gender-Equality Index
ดาวน์โหลดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจซึ่งปรากฎอย่างชัดเจนจากความมุ่งมั่นผ่านนโยบายสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน บริษัทได้เริ่มกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน วิธีการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนนี้ จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อช่วยทำให้บริษัททราบถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก และยังช่วยให้บริษัทและบริษัทในเครือสามารถวางแผนจัดการผลกระทบจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีนัยยะสำคัญขององค์กรด้วยการประเมินผลกระทบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คู่มือการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
ดาวน์โหลดนโยบายบริษัท
นโยบายของบริษัทฯ
นโยบายด้านภาษีของบริษัทฯ
บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นในการปฏิบัติตามนโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษีและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา รวมถึงใช้โครงสร้างทางภาษีในแนวทางที่ถูกต้องซึ่งไม่ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี เพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนที่บริษัทฯ ร่วมดำเนินธุรกิจ
การดำเนินนโยบายด้านภาษีด้วยความเที่ยงตรง โปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นหลักการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่จะสร้างประโยชน์และความเชื่อมั่นให้กับผู้เกี่ยวข้องอย่างยั่งยืน
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง
2564 | 2565 | 2566 | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
อัตราภาษี (ร้อยละ) | (ล้านบาท) | อัตราภาษี (ร้อยละ) | (ล้านบาท) | อัตราภาษี (ร้อยละ) | (ล้านบาท) | |
กำไรก่อนภาษีเงินได้ | 628.74 | 526.01 | 720.31 | |||
จำนวนภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ | 20 | 125.75 | 20 | 105.20 | 20 | 144.06 |
การลดอัตราภาษีจากการได้รับสิทธิในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ | 3 | (9.23) | 3 | (9.18) | 3 | (9.02) |
กำไรสุทธิจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน | 0 | (23.61) | 0 | (22.76) | 0 | (20.57) |
ค่าใช้จ่ายที่หักได้เพิ่มเติมทางภาษี | 2.00 | 2.49 | 2.23 | |||
ผลขาดทุนในปีปัจจุบันที่ไม่รับรู้เป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี | 1.09 | 19.14 | 0.35 | |||
ภาษีงวดก่อนๆ ที่บันทึกสูงไป | (0.59) | (0.09) | ||||
รวม | 15.18 | 95.41 | 18.07 | 95.03 | 16.98 | 122.27 |
ในปี 2566 กำไรก่อนหักภาษีเงินได้เท่ากับ 720.31 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เท่ากับ 122.27 ล้านบาท ตามอัตราภาษีที่แท้จริงร้อยละ 16.98 ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ร้อยละ 20
การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
- บริษัทได้รับสิทธิลดอัตราภาษีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 727 และฉบับที่ 731 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2564 ให้สิทธิทางภาษีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีสถานที่ประกอบกิจการตั้งอยู่ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ และมีรายได้ที่เกิดขึ้นจากการผลิตสินค้า ขายสินค้า หรือบริการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยลดอัตราภาษีเงินได้เป็นร้อยละ 3.0 ของกำไรสุทธิทางภาษี สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
- บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับกิจการผลิตขวดพลาสติกกึ่งสำเร็จรูป (Preform) และขวดพลาสติก (PET)/จึงได้รับสิทธิประโยชน์หลายประการรวมถึงการยกเว้นและ/หรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมตามระยะเวลา เงื่อนไขและข้อกำหนดที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน
- บริษัทได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการฝึกอบรมหรือพัฒนาพนักงาน
ระยะเวลาชำระหนี้ กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามประเภทสินค้าและวัตถุดิบหรืองานจัดซื้อจัดหาสำหรับงานบริการต่าง ๆ มูลค่า การสั่งซื้อ และเงื่อนไขตามนโยบายที่คู่ค้ากำหนดและตกลงร่วมกัน
มูลค่างาน | ประเภทและมูลค่าการซื้อสินค้าและวัตถุดิบ |
---|---|
ระยะเวลาเครดิต | 30 - 60 วัน |
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 กลุ่มบริษัทมีระยะเวลาเก็บหนี้โดยเฉลี่ย 28 วัน โดยสามารถรักษาระยะเวลาเก็บหนี้ได้ในระยะเวลาเดียวกันกับปี 2565 และระยะเวลาในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ อยู่ในช่วงเวลาที่ยาวกว่าระยะเวลาชำระหนี้เฉลี่ยเล็กน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 วัน ทั้งนี้ สำหรับเจ้าหนี้บางรายที่มีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นคู่ค้ากันมายาวนาน สามารถเจรจาเพื่อเลื่อนการชำระหนี้ไปได้บ้างหากจำเป็น เพื่อให้กระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายมีความ
นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) (บริษัท) สนับสนุนให้ท่านทำความเข้าใจนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Policy) เนื่องจากนโยบายนี้อธิบายถึงวิธีการที่บริษัทปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา การใช้ การเปิดเผย รวมถึงสิทธิต่าง ๆ ของท่าน เป็นต้น เพื่อให้ท่านได้รับทราบถึงนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ให้ความสำคัญของการต่อต้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Anti-Corruption) จึงมีการกำหนดนโยบายและแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส
เป็นธรรมตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีจรรยาบรรณทางธุรกิจ โดยมีแนวนโยบายปฏิบัติที่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นการเรียก รับ และจ่ายสินบน
นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม แจ้งเบาะแสกระทำความผิด
ท่านสามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทุจริตคือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัท