แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

26 November 2008
F 24-1 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 5/2551 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2551 ได้มีมติดังต่อไปนี้ ต่อวาระ ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ คือ (1) นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการตรวจสอบ (2) นายยรรยง เมธาพาณิชย์ กรรมการตรวจสอบ (3) น.ส.โอษริศ อมาตยกุล กรรมการตรวจสอบ โดยการต่อวาระ ให้มีผล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 กำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ แก้ไขกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบให้สอดคล้องกับบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยปรับปรุง ขอบเขตหน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบใหม่ตามรายละเอียดที่ปรากฏในแบบ F24-1 ฉบับนี้ โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลงขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย: 1. ประธานกรรมการตรวจสอบ นายประกิต ประทีปะเสน วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 3 ปี 2. กรรมการตรวจสอบ นายยรรยง เมธาพาณิชย์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 3 ปี 3. กรรมการตรวจสอบ น.ส.โอษริศ อมาตยกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 3 ปี เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ น.ส.นิธินาถ จันทสุรัส โดยกรรมการตรวจสอบทั้ง 3 ท่าน มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการ สอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงิน คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อ คณะกรรมการบริษัท ดังต่อไปนี้ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน (internal audit) ที่เหมาะสมและมีปะสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจ สอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงาน ตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วม ประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 5. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์ สูงสุดต่อบริษัท 6. จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงาน ดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบและต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้ (ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท (ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท (ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท (ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี (จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน (ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร (charter) (ซ) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับ มอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ บริษัทขอรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ดังนี้ 1. กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด 2. ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้างต้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ร้อยตรี (ไพโรจน์ รัตตกุล) กรรมการผู้จัดการ 2